สำหรับนักเขียนที่ต้องการใส่สัญลักษณ์คณิตศาสตร์ลงในบทความ แท้จริงแล้วสามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยการ copy & paste ลงไปได้เลย เช่น ต้องการแสดงสัญลักษณ์ alpha ซึ่งมีหน้าตาแบบนี้ α ก็อาจก็อปใน wiki มาวางได้เลย แต่ทีนี้มันมีรายละเอียด (ที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน) ในทางคณิตศาสตร์ว่าถ้าสัญลักษณ์นั้นเป็นตัวแปร (variable) มันควรจะเป็นตัวเอียง ด้วยเหตุนี้ทำให้ต้องมา highlight ที่ α ดังกล่าว แล้วกดเลือกรูปแบบตัวเอียง Ctrl + I
(Windows) หรือ Cmd + I
(Mac) เพื่อให้สามารถแสดงผลสัญลักษณ์ α ได้ตรงตามที่เหล่านักคณิตศาสตร์อยากให้เป็นแล้ว
ทุกอย่างยังดูราบรื่นดี เพราะมันคือการแสดงผลแต่สัญลักษณ์เดียว คำถามคือหากต้องการแสดงผลสัญลักษณ์คณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนกว่าแค่ α ตัวเดียวนี้ควรทำอย่างไร
LaTeX : ที่สุดในรุ่นในการจัดการสัญลักษณ์คณิตศาสตร์
ประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการแสดงผลสัญลักษณ์คณิตศาสตร์สามารถถูกจัดการได้ด้วย LaTeX และข่าวดีคือ WordPress ที่ใช้อยู่นี้รองรับการใช้งาน LaTeX พื้นฐานที่รวมการใช้งานแทบทุกอย่างไว้แล้วในรูปของ plug-in ที่ชื่อว่า QuickLaTeX ซึ่งสามารถเริ่มต้นการใช้งาน QuickLaTeX ได้ด้วยการพิมพ์ latexpage
ครอบด้วย [
และ ]
ลงไปใน paragraph block โดยข้อความดังกล่าวจะไม่ปรากฏในบทความ (สามารถพิมพ์ไว้ที่ตำแหน่งไหนก็ได้ของบทความ)


หากนักเขียนมีประสบการณ์เขียน LaTeX มาก่อน จังหวะนี้คือเราได้เข้ามาอยู่ใน document environment แล้ว แต่สำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับ LaTeX ไม่ต้องตกใจไป นั่นหมายความว่าการแสดงผลสัญลักษณ์ต่าง ๆ ในทางคณิตศาสตร์จะสามารถทำได้โดยใช้ dollar sign ($
) ประกบที่ด้านหน้าและด้านหลังของสัญลักษณ์ที่ต้องการจะแสดงใน paragraph block ได้เลย เช่น alpha เจ้าเดิม สามารถทำได้โดยพิมพ์ $alpha$
และมันจะออกมาเป็น alpha ที่เอียงสวยงามตามนิยามเลย


หรือในกรณีที่ต้องการเน้นสัญลักษณ์ให้ไม่ได้อยู่แค่ในบรรทัดเดียวกับข้อความอื่น ๆ ก็สามารถทำได้โดยใช้ dollar sign 2 ตัวประกอบไปแทน เช่น $$alpha$$
ก็จะแสดงผลออกมาเป็นเจ้า alpha เอียง ๆ อยู่ตรงกลางเด่น ๆ เลย แต่ถ้าต้องการแสดงผลแบบนี้ แนะนำให้ใช้ Spacer-GBDi block (ตามรูปที่ 3) ประกบทั้งบนและล่างของสัญลักษณ์ที่ต้องการเน้นเพื่อให้มีการเว้นระยะอย่างสวยงามตามมาตรฐานบทความ GBDi


มากกว่านั้น ถ้าหากสัญลักษณ์ที่ต้องการแสดงมี superscript หรือ subscript ก็ยังสามารถทำได้โดยการใช้ caret (^
) และ underscore (_
) ตามลำดับ เช่น ต้องการแสดงผล Pythagoras’ theorem สามารถทำได้โดย $a^{2}+b^{2}=c^{2}$
สำหรับแสดงผลในบรรทัด หรือ $$a^{2}+b^{2}=c^{2}$$
เพื่อเน้นโดยการขึ้นบรรทัดใหม่ (ถ้าหาก superscript หรือ subscript มีแค่ character เดียว สามารถลบปีกกาออกไปได้เป็น $a^2+b^2=c^2$
)
ข้อดีของ (Quick)LaTeX ไม่หมดเพียงแค่นั้น หากต้องการอ้างถึงสมการหรือสัญลักษณ์ที่ถูกแสดงไปแล้ว สามารถทำได้โดยใช้ equation environment พร้อมกับ label command ดังนี้
begin{equation}
... this is an equation ...
label{... name to refer later ...}
end{equation}
และเมื่อต้องการเรียกใช้สมการนี้ก็สามารถทำได้โดยใช้ ref command ตามด้วยชื่อที่ของสมการที่ได้ตั้งไว้ คือ ( ref{... name to refer later ...}
) โดยเพื่อความสวยจะต้องมี brackets ประกบทั้งหน้าและหลังด้วย (ตอนใช้จริง กับ
ref
จะติดกันเลยนะ)


หากสัญลักษณ์หรือสมการที่ต้องการแสดงผลในบทความมาเป็นสมการหลาย ๆ บรรทัด ก็ยังแสดงผลได้โดยการใช้ align
(หรือ align*
) environment โดยหากไม่มี asterisk (*
) จะมี number labeling ของสมการมาให้ด้วย แต่ align*
จะไม่มีเลขสมการ อย่างไรก็ตามรูปแบบการใช้งานของทั้งสองคำสั่งนี้จะเหมือนกัน คือ
\begin{align}
LHS &= RHS \\
LHS &= RHS
\end{align}
โดยที่ ampersand (&
) จะเป็นตัวจัดการระยะที่กำหนดว่าสัญลักษณ์ที่ตามมาควรแสดงผลจากตรงไหน โดยการมี ampersand ทั้งสองบรรทัดนี้จะเป็นการล็อคตำแหน่งของเครื่องหมายเท่ากับ ทำให้เครื่องหมายเท่ากับอยู่ตรงกัน และสำหรับ double backslash (\
) จะเป็นตัวบอกว่าให้ขึ้นบรรทัดใหม่ได้แล้ว


จริง ๆ แล้วสามารถแสดงผลเมทริกซ์ หรือ diagram บางอย่างได้อีก โดยการใช้โค้ดในรูปแบบเดียวกันกับที่ใช้ใน LaTeX ได้เลย ลอง Google ศึกษารายละเอียดดู หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถ discuss กันต่อใน Teams ได้เลยครับ
สำหรับตัวอย่างการใช้งาน สามารถเข้าไปชมได้ที่ อีกขั้นของ k-means algorithm ที่สามารถแบ่งกลุ่มข้อมูลได้ทุกประเภท