Taking too long? Close loading screen.

ข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สามารถมีบทบาทกับการจัดการไวรัสโคโรน่าได้อย่างไร

Mar 30, 2020

ปัจจุบันมีหลายประเทศที่ทางรัฐบาลได้นำข้อมูลเชิงพื้นที่ หรือ ข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS Data) มาใช้ประโยชน์ในการรับมือกับการระบาดของไวรัสโคโรน่า หรือ โควิด 2019 อาทิเช่น รัฐบาลอิสราเอลใช้ข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อส่งข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือแจ้งเตือนประชาชนที่คาดว่ามีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อโควิดให้อยู่บ้านเพื่อทำ Self-quarantine ส่วนทางรัฐบาลอังกฤษก็ใช้ข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่ไม่ระบุตัวตนซึ่งได้รับมาจากบริษัท O2 ที่เป็นผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในประเทศอังกฤษเพื่อประเมินว่าประชาชนในเขตพื้นที่ใดได้มีการทำตามนโยบาย social distancing แล้วบ้าง สำหรับในประเทศสหรัฐอเมริกา ทางบริษัท Google ได้พูดคุยกับทางรัฐบาลอเมริกาว่าจะทำการแชร์ข้อมูลกับทางหน่วยงานด้านสาธารณสุขเพื่อประเมินสถานการณ์คล้ายกับที่ทางรัฐบาลอังกฤษได้ดำเนินการอยู่

แต่แนวการใช้งานจากข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่น่าตะลึ่งมากที่สุดน่าจะเป็นในกรณีของทางรัฐบาลไต้หวันที่ทางหน่วยงานรัฐได้นำข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาสร้างเป็นรั้วจำลอง (electronic fence) รอบบริเวณที่อยู่อาศัยของบุคคลที่ถูกบังคับให้กักตนเอง และเมื่อบุคคลนั้นได้ฝ่าฝืนการกักตนเองโดยออกจากที่อยู่อาศัยหรือปิดเครื่องโทรศัพท์นั้น ระบบจะส่งข้อความเพื่อแจ้งกับทางเจ้าหน้าตำรวจทันที่ว่าบุคคลนั้นได้ฝ่าฝืนการกักตนเอง

คุณ Jyan Hong-wei ผ.อ. หน่วยงานด้านความมั่นคงทางระบบไซเบอร์ของรัฐบาลไต้หวัน (Department of Cyber Security) ได้ชี้แจ้งว่า “ทางเจ้าหน้าที่จะติดต่อหรือมาหาเราภายใน 15 นาทีหลังจากที่มีข้อความแจ้งเตือนส่งออกมา นอกจากนี้ทางเจ้าหน้าที่ยังทำการโทรหาเราวันละ 2 ครั้งเพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลนั้นทิ้งโทรศัพ์ไว้ที่บ้าน”

แม้ว่าประเด็นเรื่องนโยบายความเป็นส่วนตัวจะทำให้บางประเทศมีข้อจำกัดในการนำข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์มาใช้รับมือกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า สำหรับประเทศไต้หวันแล้วนั้น ทางรัฐบาลได้รับการติเตือนจำนวนน้อยมากจากการนำข้อมูลนี้มาใช้ซึ่งส่งผลให้จำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศไต้หวันมีเพียง 108 รายเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ติดเชื้อจำนวน 80,900 รายที่เกิดขึ้นในประเทศจีนซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านกัน 

คุณ Ben Thompson ได้ให้แง่คิดเกี่ยวกับประเด็นที่ทางรัฐบาลได้นำข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่อาจจะเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดความเป็นส่วนตัวของประชาชนไว้ว่า

“ตอนนี้เราใช้ชีวิตแบบปกติ เด็กได้ไปโรงเรียน ร้านอาหารก็เปิดเป็นปกติ ร้านซูเปอร์มาเก็ตต์ก็มีของขายไม่ขาดมือ แต่ผมก็ไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่าทางรัฐบาลได้นำข้อมูลส่วนตัวของเราไปใช้ในการเฝ้าระวังเรา ซึ่งในเดือนก่อนหน้านี้ผมคงจะบ่นไม่หยุด แต่ ณ วันนี้ผมรู้สึกว่าผมมีเสรีภาพมาก” 

แต่สำหรับประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับการที่ทางรัฐบาลนำข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์มาใช้ในการเฝ้ามองและติดตามประชาชนอย่างคุณ Albert Fox Cahn ซึ่งเป็นผู้นำของNGOแห่งหนึ่งในแมนฮัตตันนั้นได้ให้เหตุผลว่า “การที่เราอนุญาตให้ทางหน่วยงานรัฐบาลสามารถใช้มาตรการใดก็ได้เพื่อต่อสู้กับการแพร่ระบาดครั้งนี้ มันอาจจะส่งผลให้สิทธิเสรีภาพของเราชาวอเมริกานั้นเปลี่ยงแปลงไป” 

แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นเรื่องที่น่าประหลาดที่มีนักเขียนอย่างคุณ Maciej Celogwski ที่มักจะออกมาเขียนบทวิจารณ์พวก Big Tech ที่ชอบเก็บข้อมูลส่วนตัวลูกค้าไว้เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ ที่ได้ออกมาสนับสนุนให้ทางรัฐบาลอเมริกานำข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์มาใช้งานอย่างที่ทางรัฐบาลประเทศอิสราเอลได้ใช้ในการต่อสู้กับCOVID 2019  โดยคุณ Maciej Celogwski ได้เขียนว่า “ผมยังคงเชื่อว่าการต้องใช้ชีวิตอยู่ภายใต้สภาพสังคมที่มีการเฝ้าติดตามนั้นเป็นการขัดแย้งกับเรื่องของเสรีภาพ แต่การจะมีเสรีภาพได้นั้น เราจะต้องมั่นใจว่าชีวิตเราจะปลอดภัย ดังนั้นถ้าการอยู่ภายใต้สภาพสังคมที่ต้องโดนเฝ้าระวังที่เป็นมาตรการทางสาธารณสุขนั้นจะทำให้เราสามารถรอดพ้นไปจากวิกฤตครั้งนี้ได้ เราก็ควรที่จะยอมรับมัน และใช้ประโยชน์จากมันให้อย่างเต็มที่

ณ ปัจจุบันนี้เราได้เห็นแล้วว่า ข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์นั้นสามารถที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในการต่อสู่กับเจ้าโควิด 2019 ได้อย่างไร  แต่เหตุการณ์ครั้งนี้ก็สามารถทำให้เรามองเห็นภาพในอีกเชิงหนึ่งได้ว่า ข้อมูลที่ส่งหรือผลิตออกมาจากโทรศัพท์มือถือของเราอันสืบเนื่องมาจากการที่เราเล่นเกมส์ ใช้ซื้อของออนไลน์ หรือลงแอปป์ต่างๆนั้นมันสามารถสะท้อนการใช้ชีวิตประจำวันของเราได้มากขนาดไหน ซึ่งโดยปกติแล้วบริษัทหรือร้านค้าก็จะทำการเก็บข้อมูลของเราเป็นปกติและนำข้อมูลของเรามาวิเคราะห์เพื่อพยายามขายของให้กับเราอยู่แล้ว ดังนั้นข้อมูลหรือเครื่องมือที่นำมาใช้ในการต่อสู้กับ COVID 2019 นั้นก็มิได้แตกต่างอะไรไปจากข้อมูลและเครื่องมือที่เหล่าบรรดานักวิเคราะห์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลใช้กันอยู่เป็นปกติเลยค่ะ

ที่มาภาพ:

https://www.researchgate.net/figure/Mobile-based-GIS-framework_fig1_269987354

https://www.igismap.com/google-maps-wifi-only-feature-helping-limit-data-usage

ที่มา: 

https://www.theverge.com/interface/2020/3/25/21192629/coronavirus-surveillance-location-data-taiwan-israel-us-google

https://www.reuters.com/article/us-health-coronavirus-taiwan-surveillanc/taiwans-new-electronic-fence-for-quarantines-leads-wave-of-virus-monitoring-idUSKBN2170SK

Vorapitchaya Rabiablok

Senior Data Scientist and Project Manager Government Big Data Institute (GBDi)

Sign up to join Big Data Community Thailand

Make comments, write articles, and contribute to our community.