Taking too long? Close loading screen.

สู้ศึก COVID-19 เชิงรุกด้วย Big Data

Mar 30, 2020
ภาพที่ 1: พาดหัวข่าวจากสื่อ

หลังจากที่มีรายงานว่ามีผู้ป่วยเป็นระยะๆ เดินทางมาจากประเทศจีน (วันที่ 20 ม.ค. 2563) ไต้หวันได้เปิดศูนย์บัญชาการการแพร่ระบาดของโรคกลาง (CECC) อย่างเป็นทางการภายใต้ NHCC โดยมี รมว.สาธารณสุขและสวัสดิการเป็นผู้บัญชาการ CECC ประสานกับกระทรวงต่างๆ เพื่อเป็นเอกภาพในการทำงาน

จากเหตุการณ์ระบาดทั่วโลกของไวรัสโคโรนา ไต้หวันซึ่งอยู่ใกล้กับประเทศจีนและมีนักท่องเที่ยวจีนเดินทางเข้ามาในประเทศจำนวนมาก เกิดได้รับการชื่นชมจากชาวโลกในเรื่องของการนำเทคโนโลยี Big Data เข้ามาใช้รับมือกับไวรัสโคโรนาจนได้ผลรับที่ดี มีการแพร่ระบาดในระดับต่ำเมื่อเทียบกับหลายประเทศทั่วโลก 

รัฐบาลไต้หวันได้ใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลประกันสุขภาพของประเทศ รวมเข้ากับฐานข้อมูลการตรวจคนเข้าเมืองและฐานข้อมูลศุลกากร เพื่อเริ่มสร้างข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) สำหรับวิเคราะห์ สร้างระบบการแจ้งเตือนแบบเรียลไทม์เพื่อช่วยระบุตัวตนของผู้ป่วยจากประวัติการเดินทาง

นอกจากนี้ทางทีมงานข้อมูลของรัฐบาลยังใช้ QR code เทคโนโลยียุคใหม่ ในการรายงานประวัติการเดินทางออนไลน์และอาการทางสุขภาพ เพื่อจำแนกความเสี่ยงด้านการติดเชื้อของผู้เดินทางตามแหล่งกำเนิดเที่ยวบินและประวัติการเดินทางในช่วง 14 วันที่ผ่านมา โดยผู้ที่มีความเสี่ยงสูงจะถูกกักกันที่บ้านและติดตามอาการผ่านโทรศัพท์มือถือเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาจะอยู่บ้านในช่วงระยะเชื้อฟักตัวโดยการจัดหาอาหาร การตรวจสุขภาพและการให้กำลังใจแก่ผู้ที่ถูกกักกัน

ไต้หวันยังใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในการปฏิบัติงานแบบเชิงรุก โดยการค้นหาผู้ป่วยที่มีอาการระบบทางเดินหายใจอย่างรุนแรงจากข้อมูลจากฐานข้อมูลประกันสุขภาพแห่งชาติ แล้วนำมาทดสอบ COVID-19 อีกครั้งเพื่อยืนยันสถานะของการติดเชื้อ

ในช่วงวิกฤติ รัฐบาลมักเผชิญกับการตัดสินใจที่ยากลำบาก ภายใต้ข้อจำกัดและความไม่แน่นอน การมีหน่วยบัญชาการกลางที่มีข้อมูลในการตัดสินใจที่ถูกต้อง ครอบคลุมและรวดเร็วจะทำให้รัฐบาลสามารถสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนได้ด้วยการส่งข้อมูลที่รวดเร็ว ถูกต้องและโปร่งใสเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรค เพื่อไม่ให้เกิดการตื่นตระหนักของประชาชน ซึ่งไต้หวันเป็นตัวอย่างของการนำข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ในการรับมือกับสถานการณ์วิกฤติที่เกิดขึ้นในประเทศเพื่อทำการตัดสินใจและสื่อสารให้ข้อมูลกับประชาชนได้อย่างรวดเร็ว

เรียนรู้จากอดีตและมีการวางแผนการเก็บข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในอนาคต

การที่ไต้หวันตื่นตัวกับโรคระบาดอยู่ตลอดเวลาส่วนหนึ่งเกิดจากประสบการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต โดย 1 ปีหลังการระบาดของโรคซาร์ส รัฐบาลไต้หวันจัดตั้งศูนย์สุขภาพแห่งชาติ (NHCC) ขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของศูนย์จัดการภัยพิบัติที่มุ่งเน้นการตอบสนองต่อการเกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ พร้อมทำหน้าที่เป็นจุดสั่งปฏิบัติการสำหรับการสื่อสารโดยตรงระหว่างหน่วยงานส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น NHCC ได้รวมระบบบัญชาการกลาง ซึ่งรวมถึงศูนย์บัญชาการการแพร่ระบาดของโรคกลาง ศูนย์บัญชาการภัยพิบัติทางชีวภาพ ศูนย์บัญชาการต่อต้านการก่อการร้ายทางชีวภาพและศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์กลาง ดังนั้นจะเห็นว่าไต้หวันมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าว่าจะจัดเก็บข้อมูลอย่างไรและไว้ที่ไหนเพื่อสามารถนำมาใช้ในการพยากรณ์หรือจำลองเหตุการณ์เพื่อดูผลกระทบและรูปแบบการกระจายตัวของไวรัสตัวใหม่ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกันกับตัวเก่า การมีข้อมูลในอดีตที่คล้ายกับสถานการณ์ปัจจุบันจะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลหรือนักวิจัยสามารถสร้างแบบจำลองที่จะมีประโยชน์กับการตัดสินใจอย่างยิ่งเพราะเราสามารถคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาตคอันใกล้ได้อย่างแม่นยำขึ้น

ภาพที่ 2: บทความ เกี่ยวกับการที่ประเทศไต้หวันสามารถนำข้อมูลขนาดใหญ่มาใช้ประโยชน์เพื่อรับมือกับ“ไวรัสโคโรนา”

ที่มาภาพ:

https://www.thestreet.com/latest-news/right-next-door-to-china-taiwan-has-largely-contained-covid-19-heres-how

https://fsi.stanford.edu/news/how-taiwan-used-big-data-transparency-central-command-protect-its-people-coronavirus

ที่มา: 

https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/870326

https://fsi.stanford.edu/news/how-taiwan-used-big-data-transparency-central-command-protect-its-people-coronavirus

Vorapitchaya Rabiablok

Senior Data Scientist and Project Manager Government Big Data Institute (GBDi)

Sign up to join Big Data Community Thailand

Make comments, write articles, and contribute to our community.