Taking too long? Close loading screen.

ปัญญาประดิษฐ์อ่านใจและวาดภาพบุคคลที่ใช่ตรงใจคุณ

Jul 12, 2021

งานวิจัยพบ 80 เปอร์เซ็นต์ของการทดลอง ผู้เข้าร่วมพึงพอใจกับใบหน้าคนรู้ใจที่คอมพิวเตอร์ผลิตขึ้น

มีการสร้างปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถสร้างรูปภาพตามสิ่งที่คน ๆ นั้นรู้สึกน่าสนใจ

นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ (University of Helsinki) และมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน (University of Copenhagen) กำลังตรวจสอบสมมติฐานที่ว่าคอมพิวเตอร์สามารถระบุลักษณะของใบหน้าของคนรู้ใจได้หรือไม่

นักวิจัยใช้ข้อมูลจากสัญญาณสมองของผู้ทดลองเชื่อมต่อกับส่วนต่อประสานสมองกับคอมพิวเตอร์ หรือ Brain-Computer Interface (BCI) เพื่อผลิตใบหน้าของคนที่ดึงดูดผู้ทดลอง และทดลองโดยการที่จะแสดงหน้าเหล่านั้นคล้าย ๆ กับตอนที่เราเล่น Tinder ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นหาคู่ที่ผู้ใช้งานจะแสดงว่าสนใจรูปคน ๆ นั้นหรือไม่ด้วยการปัดซ้ายหรือขวา

ถึงแม้ว่าจะคล้ายคลึงกับแอปพลิเคชันหาคู่ดังกล่าว แต่ระบบที่ใช้ในการทดลอง ผู้ใช้งานจะต้องให้ความสนใจ (แทนที่จะใช้การปัดซ้ายหรือขวา) กับใบหน้าถูกสร้างขึ้นโดยโครงข่ายประสาทเทียมที่สามารถสร้างภาพเสมือนจริง (Generative adversarial neural network: GAN) ในขณะเดียวกันระบบจะรวบรวมการตอบสนองของสมองของผู้ใช้งานนั้นด้วยการติดตามดูสัญญาณไฟฟ้าผ่านการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (Electroencephalogram: EEG)

ส่วนต่อประสานสมองกับคอมพิวเตอร์ หรือ BCI นั้นจึงจะสามารถตีความความคิดเห็นเกี่ยวกับความมีเสน่ห์น่าดึงดูดตามรูปภาพ และสร้างใบหน้าใหม่ด้วยการผสมข้อมูลจากภาพใบหน้าก่อนหน้า

จากนั้นนักวิจัยได้สร้างภาพใบหน้าใหม่บุคคลสำหรับผู้เข้าร่วมแต่ละคน เพื่อทดสอบว่าแบบจำลองทำงานได้หรือไม่ และพบว่าภาพใบหน้าใหม่นั้นตรงกับความชอบของแต่ละบุคคลด้วยคะแนนความแม่นยำถึง 80%

“การศึกษาแสดงให้เห็นว่า เราสามารถสร้างภาพใบหน้าที่ตรงกับความชอบส่วนบุคคล โดยการเชื่อมต่อโครงข่ายประสาทเทียม (artificial neural network) กับการตอบสนองของสมอง ความสำเร็จในการประเมินเสน่ห์ดึงดูดมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากนี่เป็นคุณสมบัติทางจิตวิทยาของสิ่งเร้าที่รุนแรง”

Michiel Spapé นักวิจัยอาวุโส และอาจารย์คณะจิตวิทยา (Department of Psychology and Logopedics) จากมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ

Michiel Spapé นักวิจัยอาวุโส และอาจารย์คณะจิตวิทยา (Department of Psychology and Logopedics) จากมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ กล่าวว่า

“คอมพิวเตอร์วิทัศน์ (Computer Vision) นั้นประสบความสำเร็จอย่างมากในการหารูปแบบของสิ่งของ และวัตถุต่าง ๆ บนภาพ  ด้วยการนำข้อมูลสัญญาณสมองมาผสมผสาน นักวิจัยแสดงให้เห็นว่าเป็นไปได้ที่จะค้นหาและสร้างภาพใบหน้าตามคุณสมบัติทางจิตวิทยา เหมือนกับรสนิยมส่วนตัว”

การศึกษาอาจอนุญาตให้คอมพิวเตอร์เรียนรู้และเข้าใจความชอบส่วนตัว ซึ่งอาจนำไปสู่การศึกษาในหัวข้ออื่น ๆ เช่น การรับรู้และการตัดสินใจ เช่นเดียวกับชี้ให้เห็นทัศนคติของสังคมทั่วไป (stereotypes) หรืออคติที่ซ่อนอยู่

Michiel Spapé ยังกล่าวอีกว่า

“ในการศึกษาก่อนหน้าของทีมนักวิจัย นักวิจัยได้ออกแบบแบบจำลองที่สามารถระบุและควบคุมคุณลักษณะของภาพใบหน้าบุคคลอย่างง่าย ตัวอย่างเช่น สีผม อารมณ์ เป็นต้น อย่างไรก็ตามผู้คนพอจะตกลงกันได้ว่าใครที่มีผมบลอนด์และใครที่กำลังยิ้ม แต่ว่าความมีเสน่ห์ดึงดูดใจเป็นเรื่องที่ท้าทายยิ่งกว่าในการศึกษา เนื่องจากมันเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางวัฒนธรรมและจิตวิทยาในส่วนของจิตใต้สำนึกสำหรับความชอบส่วนบุคคล”

“อันที่จริง พวกเรามักจะพบว่ามันยากมากที่จะอธิบายว่าคืออะไรกันแน่ ที่ทำให้บางสิ่งอย่างหรือใครบางคนสวยงาม: ซึ่งความงามนั้นขึ้นอยู่กับสายตาของคนมอง (Beauty is in the eye of the beholder)”

ที่มา: https://www.independent.co.uk/life-style/gadgets-and-tech/ai-read-mind-attraction-b1815328.html

เนื้อหาโดย นัทธมน มยุระสาคร
ตรวจทานและปรับปรุงโดย อนันต์วัฒน์ ทิพย์ภาวัต

Natthamon Mayurasakhon

Data Scientist Government Big Data Institute (GBDi)

Ananwat Tippawat

Data Scientist Government Big Data institute (GBDi)

Sign up to join Big Data Community Thailand

Make comments, write articles, and contribute to our community.