Taking too long? Close loading screen.

สร้างเว็บไซต์ด้วย WordPress ฉบับประหยัดใน 3 ขั้นตอน

Feb 27, 2023

ทำไมต้อง WordPress กันนะ

การมีเว็บไซต์เรามักจะคำนึงว่าจะต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง จะต้องไปจ้างบริษัทจัดทำเว็บไซต์ที่ไหนดี ถ้าต้องการทำเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ เช่น เว็บไซต์ขายของออนไลน์, เว็บไซต์รวบรวมความรู้, เว็บไซต์โปรไฟล์และผลงานตัวเอง เป็นต้น

โดยบทความนี้จะช่วยเริ่มต้นการทำเว็บไซต์อย่างง่ายโดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการทำเว็บแพง ๆ และอาจจะตรงกับความต้องการของเราด้วยซ้ำ! ด้วยการใช้ Software ที่เรียกว่า WordPress เป็นเครื่องมือที่สามารถบริหารจัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์ แถมยังมี Template ให้สามารถ Download มาทำเว็บไซต์สวย ๆ ได้อีกด้วย 

สร้างเว็บไซต์ ด้วย wordpress
WordPress

องค์ประกอบของ WordPress

จะประกอบไปด้วย 3 ส่วนคือ

  1. WordPress Software คือเป็นส่วนหลักของเว็บไซต์ เป็นเสมือนบ้านโล่ง ๆ ที่ยังไม่มีเฟอร์นิเจอร์นั่นเอง ซึ่งสามารถ Download ได้ที่ https://th.wordpress.org/download/
  2. Plug-ins (ส่วนเสริม) เป็นเหมือนเฟอร์นิเจอร์ หรือความสามารถพิเศษที่เราอยากให้เว็บไซต์ของเราทำได้ เช่น มีปุ่มสำหรับ Login สมัครสมาชิก โดยเชื่อมต่อกับ Facebook, Line, Gmail, การทำ SEO หรือให้มีระบบตะกร้าสินค้าก็สามารถทำได้เช่นกัน
  3. Template คือแนวทางในการ Design เว็บไซต์ ว่าจะมีสีอะไร เมนูเป็นแบบไหน สามารถหาโหลดได้แบบฟรีจากที่ต่าง ๆ

มาติดตั้งกันเลย

วิธีการติดตั้ง จะสามารถติดตั้งได้ที่เครื่อง localhost หรือจะเป็นการซื้อ Hosting (เป็นการซื้อพื้นที่ไว้สำหรับวางเว็บไซต์ ตรงส่วนนี้จะมาแนะนำอีกครั้ง อย่าลืมติดตามกันนะ) ในตัวอย่างนี้จะเป็นการติดตั้งไว้ที่เครื่อง localhost หรือเครื่องคอมของเราเอง ในการทดสอบนี้จะทำการติดตั้งโดยระบบ Windows 11

ขั้นตอนที่ 1 ติดตั้งโปรแกรม Xampp

ติดตั้ง Xampp โดย Download ที่ https://www.apachefriends.org/download.html เลือก version ล่าสุด (ตอนที่เขียนบทความนี้จะเป็น version 8.0.25) เราจะติดตั้งเพื่อทำให้คอมพิวเตอร์ของเราเป็น Server นั่นเอง

หน้าต่างของเว็บไซต์สำหรับ Download Xampp

เมื่อ Download เรียบร้อยแล้ว ให้ทำการติดตั้งโปรแกรม เมื่อทำการติดตั้งเรียบร้อยแล้วให้ไปที่ช่อง search แล้วค้นหา “xampp control panel” ให้คลิก run ตัวโปรแกรม จะได้ขึ้นแสดงให้ start ระบบต่าง ๆ ตามรูปด้านล่าง

หน้าต่างของโปรแกรม Xampp

เมื่อได้หน้าจอดังรูปทำการ Start Module ดังนี้ Apache, MySQL


หน้าต่างการคลิก Start ของโปรแกรม Xampp

เมื่อทำการ Restart สำเร็จ ให้ทดสอบโดยการเข้า Browser แล้วพิมพ์ localhost จะขึ้นดังรูปแสดงว่าเป็นอันใช้ได้ ให้คลิกไปที่เมนูด้านบนที่ชื่อว่า phpMyAdmin


หน้าต่างระบบ Dashboard ของ Xampp

ขั้นตอนที่ 2 สร้าง Database

ให้สร้างฐานข้อมูลซึ่งคลิกที่เมนู Database จากนั้นให้ใส่ข้อมูลด้านล่างเพื่อ Create Database ให้ตั้งชื่ออะไรก็ได้และช่องถัดมาจะให้เลือก utf8_general_ci คลิก Create ปุ่มด้านข้าง


หน้าต่างของระบบ phpmyadmin

เมื่อสร้างสำเร็จจะยังไม่มีข้อมูลอะไรเพราะเรายังไม่ได้ทำการติดตั้งให้ทำขั้นตอนต่อไป


หน้าต่างของระบบ phpMyAdmin เมื่อสร้างสำเร็จ

ทำการ Download โดยเข้าไปที่ https://wordpress.org/download/  ให้เมื่อ Download เสร็จแล้วให้แตกไฟล์ และนำไฟล์ไปใส่ที่ Path: C:\xampp\htdocs ที่เราได้วาง Xampp ไว้


หน้าต่าง Folder ที่วางโปรแกรม WordPress

ขั้นตอนที่ 3 ทำการติดตั้ง WordPress

เมื่อเอาไฟล์มาใส่แล้วให้ไปที่ Browser แล้วพิมพ์ใน URL เป็น localhost/(ชื่อ Folder ที่สร้างไว้) ในตัวอย่างนี้จะใส่เป็น localhost/wordpress ให้ enter เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนในการติดตั้งโปรแกรม


หน้าต่างการแสดงผลการติดตั้ง

ให้เลือกภาษาที่ต้องการติดตั้งบนเว็บไซต์ คลิก Next เพื่อไปขั้นตอนต่อไป


หน้าต่างการแสดงผลการติดตั้ง

คลิกเริ่มทำงานได้


หน้าต่างการแสดงผลการติดตั้ง

ในหน้านี้จะเป็นใส่รายละเอียดของ Database ที่เราได้สร้างไว้ที่ข้อ 5 ดังนี้  เมื่อกรอกเสร็จแล้วให้คลิกส่งได้เลย

  • ช่องที่ 1 ให้ใส่ชื่อ Database ที่ตั้งไว้ 
  • ช่องที่ 2 กรอก root (จะเป็น Username ที่ติดมากับตอนติดตั้ง ตรงส่วนนี้จะมาสอนวิธีเปลี่ยนในบทความหน้า)
  • ช่องที่ 3 รหัสผ่าน ให้เว้นว่างไว้ เพราะค่าเริ่มต้นของโปรแกรมไม่ได้ถูกตั้งค่า ตรงนี้จะมาสอนวิธีเปลี่ยนอีกครั้งในบทความหน้า
  • ช่องที่ 4 และช่องที่ 5 ไม่ต้องแก้ไข

หน้าต่างการติดตั้งและใส่รายละเอียด

ให้เริ่มการติดตั้งต่อไปได้เลยถ้าขึ้นแบบนี้ แสดงว่าชื่อ Database และการเข้าใช้งานของ Database ถูกต้อง


หน้าต่างการแสดงผลการติดตั้ง

ระบบจะพามาหน้าใส่รายละเอียดเว็บไซต์ ตรงส่วนนี้ให้กรอกรายละเอียดต่าง ๆ ลงไปตามที่เราต้องการได้เลย เมื่อกรอกเสร็จ อย่าลืมจดจำ Username และ Password ไว้ด้วย เพราะรายละเอียดการเข้าสู่ระบบจะต้องนำไประบบหลังบ้านที่สามารถจัดการ Content ต่าง ๆ ได้


หน้าต่างการกรอกข้อมูลเว็บไซต์เพื่อเข้าสู่ระบบ

เมื่อติดตั้งสำเร็จระบบจะแสดงหน้าให้เข้าไป Login เพื่อจัดการ Content


หน้าต่างการแสดงผลการติดตั้งสำเร็จ

เราลองมาเข้าสู่ระบบกัน จะได้ดังภาพนี้ จะแสดงถึงว่าเราเข้าสู่ระบบเพื่อจัดการ Content และ Plugin ต่าง ๆ ได้แล้ว


หน้าต่างการแสดงหลังบ้านของ WordPress

เราสามารถเข้าไปดูหน้าเว็บเราได้ โดยคลิกไปที่ รูปบ้านด้านบน เพื่อไปดูการแสดงผลที่เราได้ทำหลังบ้านไป


หน้าต่างการแสดงหลังบ้านของ WordPress

หน้าบ้านจะแสดงผลดังรูปนี้ เพราะเรายังไม่ได้ใส่ข้อมูลลงไป

นี่เป็นแค่ตอนแรกของ WordPress เท่านั้น

เป็นยังไงกันบ้าง เพียง 3 ขั้นตอนของบทความนี้จะเป็นการเริ่มต้นตอนแรกกับการทำเว็บด้วย WordPress เท่านั้น ตอนต่อไป ผู้เขียนจะมาเขียนต่อเกี่ยวกับการแก้ไขและแนะนำ Plugin ที่จำเป็นต่าง ๆ ให้กับเว็บไซต์ของเรา อย่าลืมติดตามกันตอนต่อไปกันนะ

เนื้อหาโดย มินตรา สีสังข์
ตรวจทานและปรับปรุงโดย นนทวิทย์ ชีวเรืองโรจน์

Mintra Seesang

Senior Full Stack Developer

Nontawit Cheewaruangroj, PhD

Project Manager and Senior Data Scientist at Big Data Institute (BDI)

Sign up to join Big Data Community Thailand

Make comments, write articles, and contribute to our community.