Taking too long? Close loading screen.

ทำไมใคร ๆ ก็อยากจะมาเป็นวิศวกรข้อมูล (Data Engineer)

Sep 8, 2022
data engineer คือ

เราทุกคนเคยได้ยินคำโปรยว่า — Data Scientist, the sexiest job of the 21st Century (นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลเป็นอาชีพที่เซ็กซี่ที่สุดแห่งศตวรรษที่ 21) แต่มันจริงหรือไม่ ? ( data engineer คือ )

สำหรับหลาย ๆ คนที่ยังใหม่ในวงการข้อมูล วิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) จะเป็นสิ่งแรกที่ได้ยิน และชื่อมันติดหู  ไม่ทันไร ใคร ๆ ก็เป็นนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลกันหมดแล้ว หรือใฝ่ฝันจะเป็น แต่ว่านั่นไม่ใช่อาชีพเดียวในวงการนี้ มีหลายอาชีพที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลได้เป็นผู้บุกเบิกข้อมูลมานานเกินไปแล้ว ถึงเวลาเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคของวิศวกรข้อมูลและอาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อมกับข้อมูลแล้วล่ะ ซึ่งสิ่งนี้มันถูกพิสูจน์ว่าเกิดขึ้นแล้วจากข้อมูลในปี 2020

วิทยาศาสตร์ข้อมูลอาจอยู่ในช่วงขาลง

ตาม รายงานการสัมภาษณ์งานด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลปี 2021 โดย interviewquery.com ที่รับเอาประสบการณ์สัมภาษณ์งานด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลมากกว่า 10,000 ราย พบว่า การสัมภาษณ์งานด้านวิทยาศาตร์ข้อมูลเติบโตขึ้นเพียงแค่ 10% เมื่อเทียบกับ การสัมภาษณ์งานด้านวิศวกรรมข้อมูล ซึ่งเติบโตถึง 40% ในปี 2020

data engineer คือ

ในเรื่องการเติบโตของอาชีพ ได้มีการรวบรวมข้อมูลมาจากบริษัทเทคโนโลยีมากกว่า 450 แห่ง ทำให้เห็นว่าสำหรับอาชีพนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลที่จริงแล้วอัตรา การเติบโตของอาชีพนี้ลดลง 15% ในปี 2020 เมื่อเทียบกับปี 2019  การลดลงนี้ถูกทดแทนด้วยการเติบโตขึ้นในอาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล เช่น นักวิเคราะห์ธุรกิจ (Business Analyst) และวิศวกรข้อมูล (Data Engineer)  ฉะนั้นเราไม่สามารถพูดได้แล้วว่า นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลยังคงเป็นอาชีพที่เซ็กซี่ที่สุด เพราะเดี๋ยวนี้มีอาชีพอื่น ๆ ที่ ‘ฮ็อตกว่า’ ในวงการข้อมูลเกิดขึ้นมาแล้ว และอาชีพวิศวกรข้อมูลก็เป็นหนึ่งในนั้น

อนาคตของอาชีพ

มาคุยกันเรื่องการเติบโต และความต้องการของอาชีพวิศวกรข้อมูล จากรายงาน DICE’s 2020 Tech Job Report วิศวกรข้อมูลเป็นอาชีพที่เติบโตเร็วที่สุดในปี 2019 โตขึ้นถึง 50% เมื่อเทียบกับปีก่อน นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลก็อยู่ในลิสต์ด้วย แต่โตขึ้นเพียง 32% เมื่อเทียบกับปีก่อน

data engineer คือ

แต่ไม่ใช่แค่นั้น การศึกษาเรื่องค่าแรงจากที่อื่น ๆ ก็พบผลลัพธ์ที่คล้ายกันเกี่ยวกับอาชีพวิศวกรข้อมูล

ในฐานะเป็นผู้ประกอบอาชีพด้านข้อมูล เราเข้าใจว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นความจริง ข้อมูลระบุว่าวิศวกรรมข้อมูลเป็นหนึ่งในอาชีพที่เติบโตเร็วที่สุดในไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ซึ่งแซงหน้าอาชีพวิทยาศาสตร์ข้อมูลไปแล้วอีกด้วย

ทำไมถึงเป็นเช่นนี้ได้ล่ะ?

การใช้จ่ายที่สูงขึ้น

จากแบบสำรวจของ IDG Cloud Survey ซึ่งเก็บข้อมูลจากผู้ซื้อเทคโนโลยีขนาดใหญ่ 551 คน พบว่า มีเพียงแค่ 38% ของอุปกรณ์ไอทีทั้งหมดของพวกเขาที่อยู่ในระบบคลาวด์ ณ ปัจจุบันนี้ (2020) ใน 18 เดือน อุปกรณ์ไอทีเหล่านี้คาดว่าจะอยู่ในระบบคลาวด์ 59% ผู้ซื้อเทคโนโลยีกลุ่มเดียวกันได้จัดสรรงบประมาณไอที 32% ให้กับบริการคลาวด์คอมพิวติ้ง ซึ่งเป็นจำนวนเงิน 73.8 ล้านดอลลาร์ต่อบริษัทเทคโนโลยี (เพิ่มขึ้น 59% จากปี 2018)

หลังจากการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล บริษัทต่าง ๆ ตระหนักว่าพวกเขาต้องการโครงสร้างพื้นฐานข้อมูลที่เหมาะสม เพื่อจะทำการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด  บริษัทเริ่มใช้เงินกับโครงสร้างพื้นฐานของระบบคลาวด์ที่เหมาะสม สถาปัตยกรรมข้อมูล และการจ้างงานผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมข้อมูล

ความต้องการที่สูงขึ้น

data engineer คือ

หลักฐานชัดเจนอย่างหนึ่งของความต้องการอาชีพวิศวกรข้อมูลคือการเติบโตของข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เราอยากบอกคุณว่า ข้อมูลคือน้ำมันชนิดใหม่ ข้อมูลใหม่ถูกสร้างขึ้นทุกวัน และมีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยจำนวนข้อมูลมหาศาล จึงมีความต้องการวิศวกรข้อมูลเพิ่มขึ้น เพื่อมารับมือกับข้อมูลที่เพิ่มขึ้น

อีกอย่างที่บอกให้รู้คือการเติบโตของบริการด้านวิศวกรรมข้อมูลขนาดใหญ่ที่จัดให้บริการโดยบริษัทที่ปรึกษา เช่น  Accenture และบริษัทเทคโนโลยีเช่น Cognizant  ด้วยข้อมูลที่เพิ่มขึ้นบริการด้านวิศวกรรมข้อมูลที่เหมาะสมจึงเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน  ตลาดการบริการด้านวิศวกรรมข้อมูลกำลังเติบโต 18% ในแต่ละปี ซึ่งคาดว่าจะขึ้นถึง 31% ในแต่ละปีจนถึงปี 2025

การแข่งขันในผู้สมัคร

จาก การศึกษา ที่ทำโดยออริ ราฟาเอล (CEO ของ Upsolver) มีผู้สมัครตำแหน่งอาชีพวิศวกรข้อมูลเฉลี่ยเพียง 2.5 คนต่อตำแหน่งงานที่ลงไว้ใน LinkedIn ซึ่งถ้าเทียบกับตำแหน่งอื่น ๆ คือมีผู้สมัครในตำแหน่งอื่น ๆ เยอะว่าวิศวกรข้อมูลมาก ตัวเลขดังกล่าวบ่งชี้ว่า มีการขาดแคลนวิศวกรข้อมูล  ดังนั้น ผู้สมัครมีโอกาสต่อรองเงินเดือนที่สูงขึ้นในขั้นตอนการว่าจ้างได้

แน่นอนว่าขั้นตอนการว่าจ้างนั้นแตกต่างกันสำหรับทุกคน และขอบเขตการต่อรองขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ประสบการณ์ทำงาน ทักษะ ความสำเร็จที่เคยมีมาก่อน สถานที่ตั้งบริษัท ประเภทของธุรกิจ เป็นต้น พูดจากประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เขียน ผมเห็นบริษัทที่ให้คุณค่ากับข้อมูลของตัวเองเสนอเงินเดือนที่สูงกว่ามากเมื่อเทียบกับบริษัทอื่น ๆ ตัวอย่างที่ดีของบริษัทเหล่านี้คือบริษัทที่ให้ผลิตภัณฑ์ข้อมูลบางอย่าง รวมทั้งมีเป้าหมายบางอย่างสำหรับข้อมูลของพวกเขา

หน้าที่รับผิดชอบ

หน้าที่หลักของ วิศวกรข้อมูล คือ การบริหารจัดการพื้นฐานหลักของโครงสร้างข้อมูลบริษัทที่อยู่ในคลังข้อมูล โดยเนื้องานมีตั้งแต่การออกแบบโครงสร้างตารางในการสร้างไปป์ไลน์ ETL/ELT เพื่อให้แน่ใจว่าโครงสร้างพื้นฐานนั้นปรับระดับได้ และมีประสิทธิภาพสูง เพื่อจะสนองความต้องการด้านข้อมูลทั้งหมดของบริษัทได้ และยังต้องรับมือกับทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับระบบอัตโนมัติของข้อมูล

วิศวกรข้อมูลสามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้—

  • เมื่อมีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นในเว็บไซต์ เกิดอะไรขึ้นกับฐานข้อมูลหลัก?
  • ทำไมตารางในคลังข้อมูลถึงมีโครงสร้างแบบนั้น?
  • ทำไมเราถึงดึงข้อมูลในระดับวันแทนที่จะเป็นระดับชั่วโมง?

วิศวกรข้อมูลที่เชี่ยวชาญกว่ายังสามารถทำงานกับไปป์ไลน์ของข้อมูล เพื่อย่อยข้อมูลเข้าสู่ตัวรับข้อมูลตามเวลาจริง ซึ่งเป็นประโยชน์มากสำหรับการใช้งาน Machine Learning ที่รับเอาข้อมูลเข้าไป และดำเนินการบางอย่างกับข้อมูลนั้นตามเวลาจริง

ทักษะ

มีทักษะมากมายที่จำเป็นสำหรับการเป็นวิศวกรข้อมูล นอกจากความเชี่ยวชาญในการเขียนโปรแกรมภาษต่าง ๆแล้ว วิศวกรข้อมูลจำเป็นต้องเข้าใจการทำงานของฐานข้อมูล ตลอดจนวิธีออกแบบเส้นทางการไหลของข้อมูลที่เหมาะสม เพื่อโหลดข้อมูลเข้าสู่ฐานข้อมูล ผมจะสรุปง่าย ๆ เป็นความสามารถหลัก ๆ 5 อย่าง ได้แก่ ภาษาโปรแกรม (Python and SQL), ฐานข้อมูล (SQL และ NoSQL), เทคโนโลยี ETL/ELT (Apache Airflow, Hadoop), การสตรีมข้อมูล (Apache Beam) และโครงสร้างพื้นฐาน (โครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์)

บทสรุป

ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้ แสดงว่าคุณเป็นหนึ่งในบุคคลที่สนใจในวิศวกรรมข้อมูล ซึ่งเป็นหนึ่งในอาชีพที่เติบโตเร็วที่สุดในวงการนี้จริง ๆ รวมถึงเป็นหนึ่งในอาชีพที่มีรายได้เฉลี่ยสูงที่สุดในโลกด้วย อาจจะฟังเหมือนฝันแต่ขอบอกไว้เลยว่านี่คือเรื่องจริง

บทความโดย Nicholas Leong
เนื้อหาจากบทความของ Medium
แปลและเรียบเรียงโดย ไอสวรรค์ ไชยชะนะ
ตรวจทานและปรับปรุงโดย เมธิยาภาวิ์ ศรีมนตรินนท์

Isawan Chaichana

Translator

Methiyapha Srimontrinond

Data Scientist Government Big Data institute (GBDi)

Sign up to join Big Data Community Thailand

Make comments, write articles, and contribute to our community.