Taking too long? Close loading screen.

Month: August 2022

Quantum AI: อนาคตของ AI ในยุคหน้า

การประมวลผลเชิงควอนตัม (Quantum Computing) และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) เป็นเทคโนโลยีที่จะมาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโลกอนาคตอย่างมหาศาล การมีเทคโนโลยี Quantum Computing นั้นเป็นเครื่องมือที่จะช่วยนำพาให้เทคโนโลยี AI มีความก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว ถึงแม้ว่า AI บนแอปพลิเคชันต่างๆ จะถูกพัฒนาให้ประมวลผลได้บนคอมพิวเตอร์แบบคลาสสิก (Classical Computer) แต่ก็มีข้อจำกัดในเรื่องของความสามารถในการประมวลผล ด้วยเหตุดังกล่าว Quantum Computing จึงเป็นทางออกของการพัฒนาเทคโนโลยีในวงการ AI ให้สามารถสร้างแอปพลิเคชันที่มีความสลับซับซ้อนหรือสามารถทำงานที่ต้องการการประมวลผลจำนวนมากได้ เราเรียกศาสตร์นี้ว่า Quantum AI Quantum AI คืออะไร Quantum AI คือการประยุกต์ใช้ Quantum Computing สำหรับการประมวลผล หรือการคำนวณด้วยอัลกอริทึม Machine Learning โดยจะเป็นสิ่งที่จะมาช่วยให้การทำงานบางอย่างที่ไม่สามารถทำได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์แบบทั่วไป (Classical Computer) สามารถเกิดขึ้นได้จริง ทำความรู้จักกับ Quantum Computing Quantum Computing เป็นการประมวลผลรูปแบบหนึ่ง มีนิยามในลักษณะเดียวกันกับการประมวลผลรูปแบบอื่น ๆ ตัวอย่างที่เรามักเคยได้ยินกันบ่อย ๆ …

Quantum AI: อนาคตของ AI ในยุคหน้า Read More »

วิเคราะห์ NFT: ความเข้าใจในมูลค่าสินทรัพย์

ตามหลักการแล้ว มูลค่าของ Non-Fungible Token (NFT) หรือสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีลักษณะเฉพาะตัวในทุกวันนี้ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนจะมองมันอย่างไร โดยเมื่อเวลาผ่านไปมูลค่าของ NFT ชิ้นหนึ่งจะเปลี่ยนไปอย่างไรก็ยังไม่มีใครสามารถให้คำตอบได้แน่ชัด ( NFT คือ ) ตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมา แนวคิดของสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีลักษณะเฉพาะตัว (NFT) ได้กลายเป็นตัวแทนของนวัตกรรมเทคโนโลยีที่โดดเด่นที่สุดอย่างหนึ่งในยุคนี้ ตามแก่นแท้ของ NFT คือสินทรัพย์ดิจิทัลที่ถูกสร้างขึ้น ซื้อขาย และแลกเปลี่ยนในตลาด Blockchain ส่วนใหญ่ผ่านทางสกุลเงินคริปโต เช่น Ethereum เป็นต้น การผสมผสานเทคโนโลยี Blockchain เข้าด้วยกันสามารถทำให้ผู้ใช้สามารถพิสูจน์ได้ว่า NFT แต่ละชิ้นเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลของแท้ที่ไม่เหมือนใคร นอกจากนี้ Blockchain ยังสามารถช่วยตามรอยเจ้าของคนก่อน ๆ ได้อีกด้วย ตั้งแต่มีการเปิดตัวในวงกว้างในปี 2017 ผ่านทางเกม เช่น Axie Infinity, CryptoKitties, และ My Crypto Heroes เป็นต้น NFT ก็ได้รับความนิยมอย่างมากมายมหาศาลจากคนทั่วโลก จากการประสบความสำเร็จในการผสมผสานเข้ากับโลกแห่งศิลปะดิจิทัล NFT บางชิ้นสามารถขายได้หลายล้าน หรือแม้กระทั่งหลายสิบล้านดอลลาร์ …

วิเคราะห์ NFT: ความเข้าใจในมูลค่าสินทรัพย์ Read More »

IBDAP 2022: The 3rd International Conference on Big Data Analytics and Practices

รายละเอียดของ Event การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ The International Conference on Big Data Analytics and Practices หรือ IBDAP 2022 จัดขึ้นเป็นปีที่ 3 ระหว่างวันที่ 1-2 กันยายน พ.ศ. 2565 โดย สถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (สวข.) หน่วยงานภายใน ภายใต้สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (สศด.) เพื่อส่งเสริมผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ สำหรับการนำเทคโนโลยีข้อมูลขนาดใหญ่ไปใช้ประโยชน์ และเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ในเชิงวิชาการ ซึ่งจะนำไปสู่การศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนานวัตกรรมต่อไป โดยในช่วงเช้าของทั้งสองวัน (9.00-12.00 น.) ท่านสามารถเข้าร่วมฟังการบรรยายในรูปแบบออนไลน์ได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งได้รับเกียรติจากวิทยากรชั้นนำจากหลายภาคส่วนได้แก่ (1) วันที่ 1 ก.ย. 2565 เวลา 9.30-10.15 น. (บรรยายเป็นภาษาอังกฤษ) โดย คุณภูมิกิตติ์ รักแต่งาม นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต …

IBDAP 2022: The 3rd International Conference on Big Data Analytics and Practices Read More »

SCHEDULING 2: ตั้งเวลา run Python Script บน Windows ด้วย Task Scheduler กัน !

ในบทความนี้ เราจะพาเพื่อน ๆ ไปรู้จักและทดลองใช้ Task Scheduler เครื่องมือที่จะมาช่วยให้เราสามารถตั้งเวลาทำงานของ Python script โดยอัตโนมัติบน Windows กัน

เหตุใดการเปลี่ยนองค์กรเป็น Data-driven ถึงยากลำบาก

การเปลี่ยนแปลงองค์กรให้เป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data-driven) ดูเหมือนจะเป็นเป้าหมายสำคัญหลักของหลาย ๆ องค์กรในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แต่ทำไมเราถึงเห็นผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงที่หลากหลายแตกต่างกันไป จากการสำรวจพบว่า วัฒนธรรมองค์กร คือปัจจัยหลักที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ยาก ไม่ใช่ด้วยเหตุผลทางเทคโนโลยีหรือกระบวนการเหมือนที่หลาย ๆ คนคิด นอกจากนั้นการที่ข้อมูลมีปริมาณและความหลากหลายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงความกังวลในเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลและความปลอดภัยในการปกป้องข้อมูล ยังเป็นการซ้ำเติมให้การแก้ไขปัญหานี้มีความยากลำบากยิ่งขึ้นอีกด้วย บทความนี้จะขอเสนอหลักการ 3 ข้อที่จะช่วยคลี่คลายปัญหาและนำพาองค์กรให้บรรลุเป้าหมายได้ ปัจจุบันความท้าทายขององค์กรในการกำหนดยุทธศาสตร์ด้านข้อมูลอาจจะไม่ใช่เรื่องของเทคโนโลยีอีกต่อไป จากรายงานผลการสำรวจประจำปีของ NewVantage Partners ซึ่งเป็นรายงานว่าด้วยการติดตามความคืบหน้าของการริเริ่มด้านข้อมูลในบริษัทต่าง ๆ พบว่าผู้บริหารระดับสูงด้านข้อมูลของหลาย ๆ บริษัทต่างลงความเห็นว่า วัฒนธรรมองค์กร เป็นปัจจัยหลักที่เป็นอุปสรรคในการขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูล สูงถึง 91.9% ส่วนอีก 8.1% คือปัจจัยเรื่องข้อจำกัดทางเทคโนโลยี นี่เป็นปัญหาที่เข้าใจและคาดการณ์ได้ เพราะการเปลี่ยนองค์กรเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลนั้น ว่าด้วยความสามารถในการปรับเปลี่ยนและเปลี่ยนแปลงของทั้งคนและองค์กรพร้อมกัน องค์กรที่ก่อตั้งมาเนิ่นนานและประสบความสำเร็จไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วเหมือนบริษัทเล็ก ๆ ที่เพิ่งเริ่มสร้างตัว การปรับตัวใช้อินเทอร์เน็ตหรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในบางองค์กรต้องใช้เวลานานกว่าทศวรรษจึงสำเร็จ การปรับตัวเรื่องการใช้ข้อมูลในองค์กรก็อาจใช้เวลานานไม่ต่างกัน ถึงแม้ว่าปัญหานี้ไม่ใช่ปัญหาใหม่ แต่ก็ยังโชคดีที่ 2-3 ปีที่ผ่านมา มีเหตุการณ์สำคัญที่เป็นตัวเร่งให้ทั้งคนและองค์กรเกิดการปรับตัวอย่างยิ่งยวด นั่นคือ โควิด-19 และถึงแม้ที่ผ่านมาองค์กรจะบอกว่าตนเองให้ความสำคัญกับข้อมูล แต่เราก็รู้ดีว่ามันเป็นเพียงแค่ลมปาก จนโควิด-19 มาทำให้รู้ว่าในภาวะวิกฤติ …

เหตุใดการเปลี่ยนองค์กรเป็น Data-driven ถึงยากลำบาก Read More »